นโยบายผู้บริหารการบริหาร
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น
เพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลรับร่อ เป็นไปในทิศทางที่แน่นอนครอบคลุมทุกภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลรับร่อ และสามารถดำเนินการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลได้อย่างเป็นระบบ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลรับร่อ จึงกำหนดนโยบายการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลรับร่อไว้ดังนี้
๑. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน และประชาชนให้สอดคล้องตามนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
๑.๑ ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็ก เยาวชนและประชาชน ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน โดยดำเนินการ
ด้านการศึกษาให้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล
๑.๒ ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติได้รับ
ประกันคุณภาพการศึกษา ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
๑.๓ ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๑.๔ กระจายโอกาสทางการศึกษา โดยเริ่มต้นจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ได้มาตรฐานเพียงพอรองรับเด็กใน
พื้นที่ พร้อมพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและสอดคล้องตามมาตรฐานตัวชี้วัดของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๑.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา
๑.๖ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมและงานประเพณีท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัน
เป็นรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
๒. นโยบายด้านการบริหารและการจัดการ
เป็นการปรับปรุงการบริหารและการจัดการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการ
๒.๑ บริหารมอบหมายภารกิจให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ ตามสายงาน/มีเอกภาพในการบริหาร
๒.๒ ให้ความอิสระในกระบวนการตัดสินใจ และอำนาจหน้าที่ มอบหมายชัดเจน
๒.๓ เน้นกระบวนการบริหารแบบรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ประชาคมองค์กรมาร่วมในการบริหารการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
๒.๔ สร้างระบบการบริหารงานโดยยึดหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สุจริตโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และตรงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ตามหลักธรรมาภิบาล
๒.๕ ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมบทบาทหน้าที่ของประชาชนที่มีต่อการ ปกครองในระบบประชาธิปไตย
๓. นโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว
อาชีพของพี่น้องประชาชนในตำบลจะต้องได้รับการสนับสนุน เพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป
๓.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการมีกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้เกิดความเข้มแข็ง
๓.๒ เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน ครอบครัว โดยเฉพาะการเกษตร การแปรรูปสินค้า
๓.๓ สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการกลุ่มอาชีพ
๓.๔ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพของครอบครัว กลุ่มอาชีพร่วมกับหน่วยงานภายนอก
๓.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้วิถีชีวิตแบบระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง
แท้จริง
๓.๖ ส่งเสริมบทบาทของชุมชนและองค์กรเอกชนต่าง ๆ ในการเป็นชุมชนเจ้าบ้านพร้อมทั้งอนุรักษ์
ทรัพยากรท้องถิ่นปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เพื่อนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวชั้นนำและยั่งยืน
๔. นโยบายด้านสาธารณสุข
มุ่งเน้นสนับสนุนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเด็ก เยาวชนผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
๔.๑ การดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันโรคต่างๆ ในพื้นที่
๔.๒ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง โดยจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายและจัดให้มีการแข่งขันกีฬาปลอดยาเสพติด
๔.๓ ส่งเสริมการให้บริการด้านสาธารณสุข การรักษาพยาบาลแก่ผู้สูงอายุคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปให้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง
๔.๔ สนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนให้มีศักยภาพ
๔.๕ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชน
๔.๖ ส่งเสริมกองทุนสวัสดิการชุมชน
๕. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค
เป็นการพัฒนาด้านกายภาพเกี่ยวกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และอำนวยความสะดวกในชุมชน โดยดำเนินกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับ
๕.๑ ก่อสร้างและซ่อมแซมปรับปรุงรักษาถนน สะพาน ให้ได้มาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมและขนส่ง
๕.๒ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้มีการบริการ ด้านไฟฟ้า ประปา การสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง
๕.๓ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและการจัดแหล่งน้ำใช้สำหรับอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ
๖. นโยบายด้านการกีฬาและนันทนาการ
มุ่งเน้นให้มีกิจกรรมด้านการกีฬา และนันทนาการในชุมชนเพื่อให้ประชาชนและเยาวชนได้เข้าร่วมกิจการด้านการออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจและห่างไกลยาเสพติด
๖.๑ ส่งเสริมให้มีการสานฝันนักกีฬาในระดับตำบลสู่นักกีฬาระดับชาติ และสากล
๖.๒ สนับสนุนการเรียนการสอน และวัสดุอุปกรณ์กีฬาให้กับสถานศึกษา และศูนย์กีฬาตำบล
๖.๓ ส่งเสริมและจัดสรรงบประมาณและจัดหาวัสดุอุปกรณ์กีฬาให้แต่ละหมู่บ้าน
๗. นโยบายด้านพัฒนาสังคม
เป็นการพัฒนาด้านการประกอบอาชีพของประชาชน ด้านการเกษตร และสนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
๗.๑ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน องค์กรเอกชน และท้องถิ่น
๗.๒ ให้การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยของประชาชน กรณีประสบภัยพิบัติต่างๆอย่างเต็มที่และทั่วถึง
๗.๓ แก้ไขปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน ในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน
๘. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๘.๑ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน
๘.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
๘.๓ พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์กับประชาชน โดยร่วมกับหน่วยงานอื่นและองค์กรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
๙. นโยบายด้านการพัฒนาการเมืองการบริหาร
เป็นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของชุมชนในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ตามระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
๙.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย
๙.๒ ส่งเสริมและพัฒนาบุคลกรในองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อประโยชน์สูงสุด
ขององค์กร
๙.๓ พัฒนาระบบการให้บริการกับประชาชน ด้วยความเสมอภาค
๙.๔ การวางแผนการพัฒนาและการจัดสรรงบประมาณด้วยความยุติธรรม
๙.๕ ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร และการ
พัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยร่วมคิด ร่วมทำ และติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การ
บริหารและการพัฒนาเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
๙.๖ สร้างระบบการบริหารงาน โดยเน้นหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
ตรงตามความต้องการของประชาชน
|